พบแมวไทยสายพันธุ์ใหม่ “วิฬาร์กรุงเทพ” คาดไม่ซ้ำยีนส์พันธุ์ไหนบนโลก

แมวไทย สายพันธุ์ใหม่ “วิฬาร์กรุงเทพ”
ถ้าให้พูดถึงสายพันธุ์แมวที่คนนิยมและสนใจอยากจะเลี้ยงแล้วล่ะก็ เจ้าเหมียวสายพันธุ์ไทยก็ติดอันดับสายพันธุ์แมวที่น่าเลี้ยงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แมวไทย พันธุ์ วิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ โกนจา และสีสวาด ฯลฯ ซึ่งบางสายพันธุ์ก็หายาก บางสายพันธุ์ก็มีการสืบเชื้อสายมายาวนานพร้อม ๆ กับประวัติศาสตร์ไทย

และเมื่อไม่นานมานี้ทางเพจแมวสยาม ได้เผยว่าพบแมวไทยสายพันธุ์ใหม่ วิฬาร์กรุงเทพ ที่ไม่มียีนส์ซ้ำกับพันธุ์ใดบนโลกพบในไทย 25 ตัว เพิ่งค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 9 หรือเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ซึ่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
ทางเพจเฟซบุ๊ก แมวสยาม cats of Thailand ได้เปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับแมวไทยสายพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า “แมววิฬาร์กรุงเทพ” Wila Krungthep cat

โดยแมวพันธุ์นี้ ยังไม่มีบันทึกในตำราสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มีลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมคือ มี DNA ที่ไม่ตรงกับแมวชนิดใดบนโลก แถมยังพบว่าในปัจจุบัน มีแมวลักษณะนี้เพียง 25 ตัวในประเทศไทย และ 15 ตัวในจำนวนนี้กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่ไม่ได้เป็นพี่น้องหรือญาติกัน

“แมววิฬาร์กรุงเทพ” Wila Krungthep cat. คำว่า “วิฬาร์” ในภาษาบาลี-สันสกฤต หมายถึง แมว และคำว่า “กรุงเทพ” หรือ Bangkok หมายถึงเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ในทั้งนี้ เราจะใช้ทับศัพท์ซ้อนกันคือคำว่า แมว+วิฬาร์ คือ แมววิฬาร์กรุงเทพ เพื่อให้เป็นศิริมงคลแด่ชื่อ เพราะในประเทศไทย ภาษาบาลี-สันสกฤต เป็นภาษาอันสูงสุดในการใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาพระศาสนา, ชื่อ, นามสกุล, ถนน หรือชื่อเมือง ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีอีกเรื่องหนึ่งสำหรับคนรักแมวจริงๆ

เหตุผลในการตั้งชื่อแมววิฬาร์กรุงเทพ มีดังนี้
1. แมวไทยชนิดนี้เป็นแมวไทยชนิดใหม่ที่พึ่งค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว จึงไม่มีบันทึกในตำราสมุดส่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา และไม่มีชื่อเรียกใดๆที่เป็นภาษาไทย
2. หลังจากการศึกษาวิจัยใน 2 ปีแรก เราได้รู้ว่าแมวไทยชนิดนี้ไม่ตรงกับ DNA ของแมวชนิดใดบนโลก และตรวจ Genetic ไม่พบพันธุกรรมใดๆที่เหมือนกับแมวชนิดอื่นๆ จึงนำไปสู่การตามหาแมวในลักษณะเช่นนี้ และพบว่าในปัจจุบัน (มกราคม 2561) พบแมวลักษณะเช่นนี้กว่า 25 ตัวในประเทศไทย
3. จากการตรวจสอบพบว่า ในจำนวนแมวกว่า 25 ตัว พบในกรุงเทพมหานครถึง 15 ตัว โดยทั้ง 15 ตัวนี้กระจายกันอยู่คนละที่คนละแห่ง โดยไม่ได้เป็นพี่น้องหรือญาติกัน รวมถึงยังไม่มีการ Breed แมวไทยชนิดนี้
4. มีการปรึกษากันหลายครั้งในกลุ่มนักวิจัยแมวไทย ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี มีการเปิดโหวตชื่อกันมาตั้งแต่ 2560 แต่ยังไม่มีชื่อไทยที่เหมาะสม จึงมีการเรียกชื่อแมวไทยมอคค่าไปก่อน ตามที่ได้เรียกกันตั้งแต่แมวตัวแรกๆที่ศึกษา เพราะคิดว่ามันเป็นเพียงสีใหม่เท่านั้น (สีแปลกประหลาด) โดยตั้งชื่อให้สอดคล้องกับยีนส์สีแมวบนโลกที่มีเช่น ยีนส์สีศุภลักษณ์ ในทางสากลเรียกสี Chocolate, ยีนส์สีอบเชย ในทางสากลเรียกสี Cinnamon โดยตอนนั้นยังไม่มีการวิจัยที่สมบูรณ์ โดยชื่อมอคค่านี้ทางฝ.เป็นคนเรียกและสร้างเพจออกมา โดยแมวของเขาก็นำเข้าไปจากประเทศไทย (นำเข้าเป็นแมว Tonkinese-วิเชียรมาศ-เบอร์มีส แต่ออกลูกมาเป็นแมวมอคค่า) เขาจึงสร้างเพจแมวของเขาว่ามอคค่า ถึงแม้ว่าแมวของเขาจะไม่ใช่ตัวแรกของโลกก็ตาม ในประเทศไทยเรียกแมวไหมทอง แต่แมวไหมทองเป็นเพียงชื่อของแมวตัวหนึ่ง
5. ต่อมาเกิดข้อพิพาท ฝ.คนหนึ่งต้องการจะ Breed แมวไทยชนิดนี้เอง และเขาอ้างสิทธิในชื่อแมวโดยที่เขายืนยันว่าจะวิจัยในทางของเขา จะใช้ชื่อนี้ และจะอินบรีดแมว โดยเราไม่เห็นด้วยในข้อปฏิบัติของเขา ทั้งในชื่อแมวไทยที่เป็นฝ.
(เราอ้างสิทธิว่าเป็นแมวที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย เราต้องการชื่อแมวไทย แต่เขาสั่งให้เราไปหาชื่อมาให้เขาเลือก โดยไม่มีคนไทยเลยในการบรีด) และการอินบรีดแมว เราสืบทราบมาว่าในประเทศของเขามียีนแมวชนิดนี้เพียงไม่มียีน และมียีนแท้ไม่เกิน 3ตัว (ส่วนมากเป็นยีนแฝงที่เขาผสมกับแมว Tonkinese) เขายืนยันว่าจะอินบรีดโดยให้ลูกหลานผสมกันเอง โดยจะให้ยีนแฝงมาจับคู่กันเองและเกิดยีนแท้ ทางไทยจึงขอแยกทางกัน “โดยเราจะไม่ใช้ชื่อเรียกแมวมอคค่าของเขา” และจะไม่ร่วมงานวิจัยใดๆกันทั้งสิ้น เพราะเราเริ่มวิจัยเองมาตลอดตั้งแต่แรกหมดเงินกว่า 100,000 บาท โดยที่เขาดูผลงานของเรามาตลอดและจะนำไปพัฒนาต่อ เขาอ้างเหตุผลว่าต้องการวิจัยเองเพราะรอทางไทยไม่ไหว แต่ทางไทยทำงานมาตลอดเพียงแต่ไม่ได้บอกคนภายนอก เพราะเรามีกลุ่มเฉพาะสายพันธุ์แมว และสงวนลิขสิทธิ์การรับรู้เพียงคนไทย
6. ชื่อ “แมววิฬาร์กรุงเทพ” จึงตั้งขึ้นเพื่ออ้างสิทธิ์ในความเป็นไทยแท้ และต้นกำเนิดของพันธุกรรมแมวชนิดนี้จริงๆว่ามีที่มาจากประเทศไทย และพบได้มากในเมืองหลวงกรุงเทพฯ เราจึงไม่ตั้งชื่ออื่นๆที่ไม่สอดคล้องกับชื่อเมือง-ประเทศ เพื่อป้องกันการเทคโอเวอร์ในอนาคต เช่น ถ้าแมวตั้งเป็นชื่ออื่นโดยไม่มีมูลเหตุของที่มาของแมวนั้นๆ คนทั่วโลกจะไม่รู้เลยว่าต้นกำเนิดมาจากไหน และจะมีการส่งแมวกันข้ามไปข้ามมาเพื่อพัฒนาให้สากล และบิดเบือนต้นกำเนิด เช่นแมวเบอร์มีส แมวบาหลี แมวหิมาลายัน พันธุกรรมมาจากประเทศไทย แต่คนทั่วโลกไม่ทราบเพราะคิดว่าชื่อแมวคือถิ่นกำเนิด
7. “แมววิฬาร์กรุงเทพ” ตั้งให้สอดคล้องกับชื่อแมวไทยสากลชนิดอื่นๆด้วย เช่น แมวโคราช(แมวสีสวาด) หรือในตำราเรียกว่าแมวมาเลศ แต่คนทั่วโลกเรียกว่า Korat cat, แมววิเชียรมาศ เริ่มแรกชื่อแมว Siamese cat หรือแมวสยาม จนโด่งดังไปทั่วโลก เป็นต้น หากเราสังเกตุแมวทั่วโลกดีๆจะพบว่าชื่อแมวนั้นมักตั้งตามชื่อเมืองหรือชื่อประเทศ เช่น แมวบอมเบย์(เมืองในอินเดีย), แมวหิมาลายัน(เทือกเขาหิมาลัย), แมวบาหลี(เกาะบาหลี), แมวฮาวาน่า(เมืองฮาวาน่า) หรือแม้แต่แมวสก็อตติช แมวบริติช แมวเมนคูน แมวเบงกอล มักมีที่มาของชื่อเสมอ
8. แมวไทยชนิดนี้ ตัวแรกของโลกยังถูกพบที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย เป็นแมวจรแถวๆสีลม ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร
9. แมวไทยชนิดนี้ ตัวแรกที่ค้นพบมีชื่อว่าเจ้า “ไหมทอง” หรือ “Mai Thong” ตอนแรกมีการพิจรณาในการใช้ชื่อนี้ แต่จากการคุยเรื่องที่จะวิจัยในอนาคต มีการให้ความเห็นว่า “ไหมทอง” เราจะนำไปใช้เรียก Genetic ของแมวชนิดนี้ ซึ่งเรายังไม่รู้ว่าพันธุกรรมมันคืออะไร หากเราทราบพันธุกรรมของมันซึ่งเป็น code เราจะใช้ชื่อไหมทองไปเรียกในนาม “ยีน” คือ ยีนส์ไหมทอง โดยตอนนี้สันนิฐานว่าแมวชนิดนี้เป็นแมวในกลุ่มหน้ากาก วงศ์เดียวกับแมววิเชียรมาศ, เบอร์มีส, ท็องกินีส มีการตั้งชื่อยีนหน้ากากคร่าวๆกันไว้ว่า cmcm มาจากคำว่า Color of Mai Thong เพื่อให้เกียรติแมวตัแรกที่ค้นพบ
10. ตอนนี้มีการตั้งทีมวิจัยใหม่ขึ้นมา ซึ่งกำลังจะเริ่มขึ้นในเร็วๆนี้ โดยเป็นการวิจัยใหม่ครั้งใหญ่ เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา เราได้ส่ง Genetic ไปตรวจในต่างประเทศหลายครั้งแล้วแต่ไม่ประสพผลสำเร็จ เราจึงต้องวิจัยกันไปเรื่อยๆ โดยครั้งนี้จะทำใหม่ที่ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ (ขอไม่บอกรายละเอียดใดๆ)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *