เพิ่งได้รู้ น้ำปูนใสทำมาจากสิ่งนี่ ถึงว่าทำไมใส่อาหารแล้วกรอบ

อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่าในการทำอาหารนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลไม้แช่อิ่ม ผักดองต่างๆ ขนมเชื่อม ถ้าต้องการให้อาหารกรอบหรือมีความคงรูปนั้นควรใช้น้ำปูนใสมาเป็นส่วนประกอบ โดยการนำวัตถุดิบที่เราต้องการให้กรอบนั้นไปแช่กับน้ำปูนใสก่อนเพื่อให้เกิดการคงรูปและเกิดความกรอบซึ่งเป็นการเพิ่มรสสัมผัสและทำให้เวลาทานอาหารมีความอร่อยมากขึ้น

และเคยสงสัยกันไหมว่าน้ำปูนใสนั้นทำมาจากอะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนั้นกัน โดยก่อนที่จะมาเป็นน้ำปูนใสนั้น เริ่มจากการใช้ไฟหลอมหินปูน เปลือกหอย ให้เป็นปูนที่สุกแล้วก็เติมน้ำเข้าไปง จึงทำให้เกิดปฏิกิริยากัน ได้เป็นเเคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ และส่วนที่เป็นผงแห้งนั่นก็คือปูนขาว เมื่อเรานำปูนขาวไปผสมกับน้ำแล้วก็ผสมกับขมิ้นชันสีเหลือง เมื่อปูนขาวทำปฏิกิริยาต่อกันจึงเกิดเป็นปูนสีแดง

โดยเราสามารถทำน้ำปูนใสได้คือ นำปูนแดงมาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วนปูนแดง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำเปล่า 4 ถ้วย แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ในส่วนที่เป็นน้ำแขวนลอยใสๆ นั่นก็คือน้ำปูนใสที่เราจะใช้นั่นเอง

และเหตุผลที่น้ำปูนใสช่วยเพิ่มความกรอบได้นั่นก็เพราะว่า น้ำปูนใสมีคุณสมบัติพิเศษ นั่นก็คือช่วยรักษาสภาพเนื้อสัมผัสของผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และอื่นๆ ที่เรานำไปแช่น้ำปูนใสให้มีความคงรูปอยู่เสมอ ป้องกันการยุ่ยของอาหาร และเมื่อตัวน้ำปูนใส่แทรกเข้าไปในเนื้อของอาหารนั้น จะทำให้เนื้อมีความแข็งแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงนิยมนำไปแช่ผักผลไม้ในการเชื่อม ซึ่งเหตุนี้ทำให้ผลไม้ยังคงสภาพความสวยงามอยู่ได้นาน

นอกจากจะช่วยในเรื่องของความกรอบแล้วน้ำปูนใสยังช่วยให้อาหารบูดช้าลง และสามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นหืน กลิ่นเหม็นบูดของอาหารได้อีกด้วย หรือหากนำมาฉีดพรมผักหรือผลไม้จะมีส่วนสำคัญในการยืดอายุของผักหรือผลไม้ได้ และเมื่อเราใช้น้ำปูนใสในการแช่หรือเติมในอาหารก็จะมีธาตุแคลเซียมที่ละลายอยู่ในน้ำปูนใสผสมเข้าไปกับอาหารด้วยทำให้เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้ ก็ย่อมได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้นด้วย

แต่ถึงจะมีประโยชน์และใช้งานง่ายแต่ก็มีข้อควรระวังในการนำไปประกอบอาหารเช่นกัน นั่นคือหากนำไปใส่ในอาหารจำพวกแป้งหรือขนมของหวาน หากใช้ในความเข้มข้นมาก ก็มักจะทำให้ตัวแป้งไม่หยุ่นเหนียว และเนื้อขนมมีรสปร่าหรือรสจางจากความเป็นด่างได้ หรือหากเราใสในผักหรือผลไม้ หากใช้ในความเข้มข้นมากหรือแช่นานเกินไปก็จะทำให้ผิวของผักหรือผลไม้หยาบกระด้าง ผิวเปลือกแข็งมากขึ้น หากกัดกินจะไม่อร่อยหรือหากนำไปปรุงอาหารจะไม่มีรส เพราะน้ำปรุงไม่สามารถแทรกเข้าด้านในได้