หมอจุฬาฯ ยก 3 เหตุผล ต้องรีบปิดประเทศ ยา-หมอ-เตียงไม่พอ ชี้เหลือเวลาน้อยมาก! หมอจุฬาฯ ยก 3 เหตุผล ต้องรีบปิดประเทศ ยา-หมอ-เตียงไม่พอ ชี้เหลือเวลาน้อยมาก! วันที่ 19 มี.ค. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์แสดงความคิดเห็นให้ปิดประเทศเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 ระบาดความว่า สาเหตุสำคัญที่ต้องปิดประเทศและต้องปิดบ้าน 1- ไม่มียา ยาที่คิดว่าจะใช้ได้ มีการรายงานมาหลายคราว และล่าสุดในวารสารนิวอิงแลนด์ 18 มีนาคม ว่า ยา lopinavir/ritonavir ไม่ได้ผล มีแต่ยา chloroquine ที่รักษามาลาเรีย ที่เราพอหาได้ กับ favipiravir (ผลิตที่ญี่ปุ่นและจีน) ที่เรามีจำนวนจำกัดมากสำหรับคน 600 ถึง 700 คนเท่านั้น และภาวนาให้มีพอเป็นหมื่นๆคน (1คนใช้ 70 เม็ด) 2-ระบบสาธารณสุข กายภาพ อุปกรณ์ กำลังคน เตียง แยกอาการหนัก ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตและก่อให้เกิดละอองที่จะให้เกิดการติดต่อทางการหายใจ ควรต้องเป็นห้องความดันลบจริงๆ ที่ทั้งประเทศ มี 100 กว่าห้อง (ใช่หรือไม่) และกระจัดกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆแห่งละไม่มาก ห้องที่ดัดแปลง รวมทั้งห้องแยกอื่นๆ รวมทั้งไอซียู มีพอจริงหรือไม่ รวมทั้งเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิต นอกจากนี้ ห้องเหล่านี้ในโรงพยาบาลหลายแห่งใช้เครื่องปรับอากาศรวม ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดการติดต่อทางการหายใจจะสามารถแพร่กระจายไปกว้างขวาง บุคลากรมีหมอทั่วประเทศไม่ถึง 30,000 คนและเป็นหมอติดเชื้อ ทางปอด และภาวะวิกฤตมีอาจจะเป็นจำนวน 1,000 หรือน้อยกว่า และถ้าเกิดเหตุวิกฤตเอาหมอทั่วไปที่ไม่ชำนาญในการดูคนไข้และการใส่ชุดปกป้องตัวเอง แทนที่จะช่วย กลับติดโรคและกลายเป็นภาระให้ต้องรักษาต่อ ทางพยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เทคนิคการแพทย์จะยิ่งแล้วใหญ่ โดยที่ขณะนี้งานหนักมหาศาลอยู่แล้ว และคนไข้แออัด เต็มวอร์ด เต็มไอซียู และครองเตียง ครองเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิตไปหมดแล้ว 3- ถึงวันนี้เป็นวาระสุดท้ายที่ต้องก้าวนำเชื้อโรคไม่ใช่เกิดวิกฤติรุกล้ำเข้าไปในระบบสาธารณสุขมากกว่านี้ดังที่มีข้อจำกัดมาก ดังข้อ 1-2 ถ้ายังคงก้าวตามหลัง ดูตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต โดยไม่ได้ตระหนักว่าโรคนี้การติดต่อ จากบุคคลสู่บุคคลเป็นลูกโซ่ และยากที่จะจำกัดผู้ติดเชื้อและผู้ใกล้ชิด ที่แพร่เชื้อได้ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่เป็นหนุ่มสาวแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวจะเป็นคนแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าในที่ทำงาน ในระหว่างการเดินทางด้วยรถสาธารณะ หลังเวลาทำงาน ไปแพร่ระหว่างกลุ่มคนอีกมากมาย และเมื่อเชื้อแพร่เข้าไปในกลุ่มคนเปราะบางสูงอายุและมีโรคประจำตัว และเมื่อเชื้อเข้าไปในโรงพยาบาลจากญาติผู้ป่วยที่เข้าไปเยี่ยม โดยมีการติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือน้อยมากจนตรวจจับไม่พบ เมื่อนั้นก็จะเป็นการแพร่อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน รพ.ที่แออัด ตั้งแต่ที่จอดรถ หอ ผู้ป่วยนอกและแน่นอน แพร่ไปทุกพื้นที่ การปิดบ้าน ปิดเมืองเดี่ยว ยากที่จะทำให้ประเทศสะอาด เรียนจากประเทศจีน เรียนจากประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมรับบทเรียนและวิธีแก้ไขจากประเทศจีน เราฟื้นความมั่นใจความเขื่อมั่นรวมทั้งเศรษฐกิจได้ถ้าเราทำจริง เราเหลือเวลาน้อยมาก จากใจ หมอธีระวัฒน์ ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3780181 Post Views: 0