หลังจากหนังสือ ‘Taste of Angkor’ ได้รางวัล Best Asian Cookbook ในปี 2021 แม้จะมีชื่อ ‘Chef’ สัญชาติเขมรเป็นผู้เขียน แต่ผู้ถือหนังสือเข้าประกวด เป็นไปในนาม ‘รัฐบาล‘
มีการทำ จม. ประกาศความสำเร็จ พร้อมปล่อยข้อมูลที่รับรอง โดย ‘นาย Prak Sokhonn’ : รอง รมต.การต่างประเทศ
ส่วนหนึ่งของข้อความนั้น กล่าวว่า :-
“Prahok คือ ชื่อของ ‘ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าว’ เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของปลาในโตนเลสาปและแม่น้ำโขง
ถ้าเติมลงในน้ำซุป ก็จะทำให้ซุปมีรสดีขึ้น หรือ ใช้ทำอาหารร่วมกับเนื้อสัตว์อื่นๆ
หลาย ศต. มาแล้ว ที่สิ่งนี้ได้กลายเป็นเส้นทางของรสชาติอย่าง ‘อูมามิ‘ ที่แพร่ไปยัง ‘ประเทศจีนและญี่ปุ่น‘ โดยภายหลังไปอยู่ในรูป “Nare Sushi” (นาเระ ซูชิ)“
“Nare Sushi” (นาเระ ซูชิ) คือ ซูชิที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น : ปลาหมักเกลือและข้าว
อิชั้นมั่นใจว่า ข้อความที่ รบ.เขมร นำมาเขียนอธิบายความสำคัญของ Prahok นั้น เอามาจากบทความเรื่อง “ปลาส้ม” ตามเพจ-เวปของไทยอย่างแน่นอน!!!
เนื่องยังไม่มีงานวิจัยสากลใดให้บทสรุปที่แน่นอนว่า
”Nare Sushi บันดาลใจมาจากการหมักปลาด้วยเกลือและข้าวในย่านโตนเลสาป“
ความรู้ทางฝั่ง ญี่ปุ่น ยังคงให้เครดิตต่อ ‘จีน’ ในฐานะที่พบ “ปลาห่อด้วยข้าวหมักเกลือ“ จากบันทึกจีนสมัย ศ.3-5 >> ก่อนแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่น ใน ศ.8 !!
ขณะที่ความรู้ทางฝั่งไทย กล่าวถึงกระบวนการถนอมอาหารด้วย ‘การหมักเกลือ‘ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งพูดถึงความเป็นไปได้ เพื่อการเชื่อมโยง ‘การไหลของวัฒนธรรมการกิน’ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดของโลก
เมื่อ “ปลาส้ม” ในไทยก็หมักด้วยเกลือและข้าว / แต่ก็พบได้ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า-ลาว-เขมร เช่นกัน
ดังนั้น ความเชื่อมโยงของ ‘ปลาส้ม’ กับ ’Nare Sushi‘ จึงจัดเป็น 1 ในความเป็นไปได้เชิง ’วิเคราะห์’
ไม่ใช่ ‘บทสรุป’ !!!
🟢 แต่ เขมร ดันเอาบทวิเคราะห์-บทความจากเว็ปไทย ไปประทับตราในนาม ’รัฐ’ แล้วทำการยืนยันออกสื่อสาธารณะว่า :-
“Prahok(ปลาหมักของฉัน) ที่มีมานานนับพันปี เป็นที่มาของ Nare Sushi ของญี่ปุ่น” !!!😳
❗️และผิดมากขึ้นไปอีก เมื่อโยงไปอ้างถึง “รสอูมามิ”
👉 ครั้งแรกของงานวิจัยระดับโลก เรื่อง ‘รสอูมามิ‘ เกิดขึ้นในปี 1909 โดย ‘ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ’ ชาวญี่ปุ่นผู้ค้นพบว่า
“เป็นรสชาติที่ ‘5’ จาก 4 รสดั้งเดิม คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม”
เกี่ยวข้องกับ “กลูตาเมต” ซึ่งพบในทั้งในอาหารธรรมชาติ และ อาหารที่มีการหมักบ่ม
เขมรต้องนำบทความไทย-งานวิจัยประเทศอื่น มาเขียนยกเมฆบรรยายสร้างคุณค่าให้บทความเรื่อง ‘อาหารเขมร‘ ของตัวเอง เพราะเป็นประเทศที่ขาดเรื่องงานวิจัยขั้นสุด