บ้านแตกไหม!! หนุ่มวิศวะช็อก เพิ่งรู้ตัว “ไม่มีอสุจิ” หมอยังตอบไม่ถูก เมียคลอดลูกใคร??

หนุ่มวิศวะช็อก ตรวจพบจำนวนอสุจิเป็น “ศูนย์” มึนแล้วเมียคลอดลูกใคร หมอต้องรีบอธิบายก่อนบ้านแตก!

ดร. กู่ ฟางหยู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งปันประสบการณ์รักษาเคสที่น่าสนใจ โดยเล่าว่าในอดีตเขาเคยให้คำปรึกษาคนไข้ชายอายุ 40 ปี อาชีพวิศวกร ซึ่งทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ตัดสินใจเข้าปรึกษาแพทย์หลังจากทุกข์ทรมานจากภาวะมีบุตรยาก หลังจากตรวจอย่างละเอียดแล้วจึงได้รับการวินิจฉัยว่าไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด (congenital absence of the Vas deferens) หรือมีการอุดตันของท่อนำอสุจิ

คุณหมอกล่าวว่า การไม่มีท่อนำอสุจิแต่กำเนิด ถือเป็นโรคทางการแพทย์ที่หายาก โดยมีอัตราการเกิดเพียงหนึ่งในหมื่น ดังนั้นเมื่อคนไข้ต้องเผชิญกับมัน ย่อมอดไม่ได้ที่จะขมขื่น อย่างไรก็ดี เขาจำเป็นต้องแจ้งให้คนไข้ทราบตามความเป็นจริงถึงการวินิจฉัย ว่าแม้จะสามารถหลั่งน้ำอสุจิขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็ “ไม่มีตัวอสุจิ” จึงเป็นการยากที่ภรรยาจะตั้งครรภ์ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ ขณะเดียวกันเขาก็ปลอบคนไข้ว่า “ตราบใดที่ทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จ ก็จะไม่เป็นปัญหา”

แต่แล้วคุณหมอกลับได้รับคำพูดที่ไม่คาดคิดกลับมา เมื่อคนไข้กล่าวว่า “แต่ผมมีลูกแล้ว” เขายังบอกด้วยว่าสาเหตุที่พบแพทย์เพราะภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 หลังจากผ่านมาหลายปี คำพูดของเขาทำให้บรรยากาศในคลินิกแข็งทื่อทันที ในเวลานี้คุณหมอเองก็ตกใจและพูดไม่ออกเช่นกัน เนื่องจากในตอนนั้นเขายังเด็กและอ่อนประสบการณ์กว่าในปัจจุบันมาก

แต่เมื่อมองไปที่หน้าของสามี-ภรรยาที่เข้ารับการปรึกษา คุณหมอจึงต้องรีบตั้งสติและอธิบายเพิ่มเติมอย่างใจเย็นว่า คนไข้อาจไม่ได้มีปัญหามาตั้งแต่อายุน้อยๆ แต่ท่อนำส่งตัวอสุจิ (vas deferens) เริ่มมีปัญหาเมื่ออายุค่อยๆ มากขึ้น หลังจากเปลี่ยนโฟกัสได้สำเร็จ เขาก็รีบกล่าวว่าตราบใดที่ยังสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ก็สามารถคลอดบุตรได้อย่างราบรื่น

ดร.กู่ ฟางหยู่ เน้นย้ำว่าภาวะไม่มีท่อนำอสุจิ (congenital absence of the Vas deferens) เป็นโรคทางพันธุกรรม แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ป่วยจะไม่มีมาแต่กำเนิด หรือค่อยๆ หายไปเมื่อเติบโตขึ้น ถือเป็นกลุ่มอาการที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทำหมันชาย หรือ อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว เป็นต้น สิ่งพิเศษคือยีนของโรคนี้ เกี่ยวข้องกับ “การพัฒนาของปอด” ดังนั้น หากโชคร้ายก็อาจเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร เนื่องจากภาวะปอดขาดเลือด

ทั้งนี้ เนื่องจากในกรณีของสามีภรรยาข้างต้น เนื่องจากทั้งคู่ไม่เคยมาคลินิกอีกเลย เขาจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่าในครอบครัวจะมีการทะเลาะกันในภายหลังหรือไม่ หรือเด็กที่เขากล่าวถึงมีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดหรือไม่ แต่จากมุมมองทางการแพทย์ หากผู้ป่วยไม่มีท่อนำอสุจิมาแต่กำเนิด เขาย่อมไม่สามารถผ่านการหลั่งตัวอสุจิออกมาได้