สูตรน้ำพริกอ่อง กินคู่กับแคบหมูเข้ากันมากๆ พร้อมสอนเป็นขั้นตอน ทำง่ายมาก

สูตรน้ำพริกอ่อง กินคู่กับแคบหมูเข้ากันมากๆ พร้อมสอนเป็นขั้นตอน ทำง่ายมาก

น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย พอๆกับน้ำพริกหนุ่มที่นิยมรับประทานคู่กับแคบหมูของชาวเหนือ


โดยที่สูตรน้ำพริกอ่องนั้นได้มีการดัดแปลงไปแล้วจำนวนหลายสูตร ตามแต่รสชาติความชอบของคนรับประทาน

วันนี้เราจึงนำวิธีทำน้ำพริกอ่องอีกหนึ่งสูตรมาฝากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในรสชาติความเปรี้ยวอมหวานของมะเขือเทศในน้ำพริกอ่อง

ขั้นตอนแรกเริ่มจากการเตรียมส่วนผสมและเครื่องปรุงก่อน โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการทำน้ำพริกอ่องนั้นมีดังนี้

ส่วนผสม + เครื่องปรุง

– หมูสับ 250 กรัม

– มะเขือเทศลูกใหญ่ 3-4 ลูก

– พริกแห้งบางช้างหั่นเป็นท่อน (เอาเมล็ดออก แล้วแช่น้ำ 3 เม็ด)

– ข่า 2 แว่น

– กะปิปิ้งไฟ หรือถั่วเน่า 1 ช้อนชา

– หอมแดง 2 หัว

– กระเทียมกลีบเล็ก 4 กลีบ

– รากผักชี 2 ราก

– กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ

– น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

– น้ำปลา พอประมาณ

– น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

– รสดีรสหมู 1 ช้อนชา

– ต้นหอมซอย พอประมาณ

– ผักชีซอย พอประมาณ


วิธีทำ


1. นำมะเขือเทศมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เท่าที่จะเล็กได้ แต่ไม่ต้องเล็กถึงขนาดซอย พร้อมกับซอยต้นหอมผักชีเตรียมไว

2. เตรียมเครื่องน้ำพริกไว้ เริ่มจากนำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า รากผักชี กะปิหรือถั่วเน่า (ถั่วเน่าบางคนก็ไม่ชอบใส่ ซึ่งเป็นความชอบของแต่ละคน แต่สูตรนี้แนะนำให้ใส่จะได้ครบรสนะจ๊ะ) ใส่ครกแล้วโขลกให้ละเอียดจนกว่าจะเข้ากัน


3. นำหมูสับลงไปย้ำกับครกให้เข้ากับเครื่องแกงน้ำพริกที่โขลกไว้แล้ว

4. นำมะเขือเทศที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในครกแล้วย้ำให้เข้ากันแต่พอเบามือ เพราะเราไม่ต้องการให้มะเขือเทศนั้นละเอียดจนเละเกินไป


5. นำกระทะขึ้นตั้งไฟ โดยใช้แค่ไฟอ่อนๆถึงปานกลาง พร้อมทั้งใส่น้ำมันลงไป พอกระทะเริ่มจะร้อนก็ใส่กระเทียมสับลงไป ผัดจนกระเทียมนั้นเริ่มมีกลิ่นหอม

6. นำเครื่องที่โขลกกับหมูไว้แล้วลงไปผัดให้ทั่ว แล้วตามด้วยรสดีรสหมูลงไปผัดด้วยไฟอ่อน (พยายามอย่าคั่วน้ำพริกให้ไหม้ เพราะจะทำให้มีรสขมได้)

7. ปรุงรสด้วยน้ำปลา แล้วเคี่ยวจนกระทั่งมะเขือเทศเปื่อย


8. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยผักชี, ต้นหอม เสิร์ฟคู่กับผักสด และแคบหมู รับรองลำแน่นอน เครื่องเคียงที่นิยมรับประทานกับน้ำพริกอ่อง

– แคบหมู

– ข้าวเหนียว หรือข้าวสวย ตามแต่ชอบ

– ผักต้มหรือนึ่ง เช่น กะหล่ำปลี, ฟักเขียว, ดอกแค, ถั่วพู, แตงกวา, มะเขือเปราะ, ยอดกระถิน, ถั่วฝักยาว, ผักไผ่, ผักชี, ผักชีฝรั่ง, สะระแหน่, ผักกาดขาว, ฟักทอง

ที่มา https://www.kubkhao.com/2020/02/blog-post_0.html