เช็กด่วน! เผยผลตรวจ เครื่องดื่มผสมวิตามินซี พบมี 8 เจ้า ไม่มีวิตามินตามที่แจ้งในฉลาก

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้เผยผลทดสอบปริมาณวิตามินซีในเครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำนวน 47 ตัวอย่าง ที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด โดยผลการตรวจสอบพบมีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลากสินค้า และมีถึง 8 ตัวอย่างที่ไม่พบปริมาณวิตามินซี ได้แก่

1. ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์ Yanhee VITAMIN C WATER กราสเจลลี่ (เครื่องดื่มผสมน้ำเฉาก๊วยสกัดและวิตามินซี)ขนาด 460 มล. (วันผลิต 07-10-2020 / 07-10-2021)

2. นูริชเมท Nurish Mate ขนมเยลลี่บุก และคาราจีแนน ผสมคอลลาเจน วิตามินซี และน้ำองุ่นขาว 15% กลิ่นสตรอเบอร์รี่ และพีช ขนาด 150 มล.(วันผลิต 11-08-2020 / 10-08-2021)

3. มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นส้มผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. (วันผลิต12-06-2019 / 12-06-2021)

4. มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นเบอร์รี่เลมอนผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. ( วันผลิต 07-03-2019 / 07-03-2021)

5. เครื่องดื่มรสมะนาวเลม่อน ตรามินิ Lemonade Vitamin C200 ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-0000 / 03-10-2021)

6. เฟสต้า-ซี เดลี่ ไฟเบอร์ ลิ้นจี่ เฟลเวอร์ เครื่องดื่มน้ำรสลิ้นจี่ 12% ผสมวิตามินซี และใยอาหาร 100 ขนาด มล. (วันผลิต 02-09-2019 / 01-03-2021)

7. มินิ พิงค์เลม่อนเนด เครื่องดี่มรสเลม่อนผสมเบอร์รี่ ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-00 / 26-08-21)

8. ดี.อาร์.ดริ้งค์ D.R.DRINK เจนไม วิตามิน วอเตอร์ (เครื่องดื่มผสมวิตามินซี วิตามินบี 3 บี 6 บี 12 ไบโอติน กรดโฟลิค แซฟฟลาเวอร์และแคลเซียมจากสาหร่ายลิโทรามเนียน) ขนาด 500 มล. (วันผลิต 09-11-2020 / 09-11-2021)

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีที่กล่าวอ้างตามฉลากมากกว่าหรือน้อยกว่าร้อยละ 30 พบว่า มีผลิตภัณฑ์จำนวน 37 ตัวอย่างที่มีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่บอกเอาไว้บนฉลาก มีทั้งปริมาณมากและน้อยกว่าที่แจ้ง

ทั้งนี้ควรบริโภควิตามินต่อวันตาม Thai RDI ซึ่งอยู่ที่ 60 มิลลิกรัม โดยวิตามินซีจะละลายได้ง่ายหากสัมผัสกับแสงหรือความร้อน แหล่งอาหารที่สามารถพบวิตามินซีได้ ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือหม่อน และไม่ควรทานวิตามินซีมากเกินไปเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงนิ่วในไตได้

ที่มา : consumerthai