อนุมัติกฎหมายเวนคืนที่ดินสร้าง รฟฟ. สายสีส้ม บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรม 11 เขต 400 หลัง

ครม. อนุมัติกฎหมายเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรม ในพื้นที่ 29 แขวง 11 เขต มีอาคารถูกรื้อถอนประมาณ 400 หลัง พื้นที่ 380 แปลง

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า ตอนนี้ที่ประชุม ครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่อเวนคืนที่ดินก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุม 29 แขวง 11 เขตในกรุงเทพฯ

โดยรายละเอียดการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ดำเนินการ จะมีกำหนดบังคับ 4 ปี มีลายละเอียดพื้นที่ ดังนี้

         1. แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน

         2. แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด

         3. แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย

         4. แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

5. แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

         6. แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต

         7. แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี

         8. แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

         9. แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

         10. แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง

         11. แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

ชื่อ พ.ร.ฎ. 2 ฉบับที่อนุมัติ

         ได้แก่ กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน

รายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีส้ม

         รถไฟฟ้าสายสีส้ม จะมีทั้งหมด 2 ฝั่ง คือ ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และส่วนตะวันออก (มีนบุรี – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่งพื้นที่ที่จะเวนคืน 29 แขวง 11 เขต คือ ส่วนตะวันตก ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร รวม 11 สถานี ซึ่งรถไฟนี้จะมีส่วนที่วิ่งใต้ดินและวิ่งบนดิน

         จุดเริ่มต้นของเส้นทางนี้ จะเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ เป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช (สถานีศิริราช) จากนั้นก็วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดพื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงเส้นทางไปตามแถวถนนหลานหลวงถึงแยกยมราช ไปตามถนนเพชรบุรีถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายใต้ถนนราชปรารถตรงไปที่สามเหลี่ยมดินแดง

จากนั้นเลี้ยวขวาไปยังแนวถนนวิภาวดี เลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ สิ้นสุดสถานีที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

สำหรับที่ดินที่เวนคืน จะมีประมาณ 380 แปลง มีอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง โดยหัวใจหลักของรถไฟสายสีส้ม เป็นการเชื่อมโยงกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก

         1. บางขุนนนท์

         2. ศิริราช

         3. สนามหลวง

         4. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

         5. หลานหลวง

         6. ยมราช

         7. ราชเทวี

         8. ประตูน้ำ

         9. ราชปรารภ
         10. ดินแดง

         11. ประชาสงเคราะห์
         12. ศุนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

จุดตัดรถไฟสายสำคัญในปัจจุบัน

         1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีราชเทวี

         2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ