การเสียชีวิตของหมอกฤตไทด้วยโรคมะเร็งปอด ทั้งที่อายุยังน้อย กลายเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญทางสังคมที่ตั้งคำถามถึงวิกฤตฝุ่น PM2.5 จี้ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างด่วน เพราะมันส่งผลต่อประชาชนโดยตรง และปัญหานี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ คนที่เป็นมะเร็งปอดไม่จำเป็นต้องเป็นคนแก่เสมอไป
ล่าสุด วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เฟซบุ๊ก Vajira Pulmonary Medicine โพสต์ถึงอาการป่วยของหญิงรายหนึ่ง วัย 27 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่ แต่มีการไอและเหนื่อยประมาณ 2 สัปดาห์ น้ำหนักตัวลดลง 4 กิโลกรัม จึงไปหาหมอให้วินิจฉัย ผลการตรวจร่างกายพบว่า หญิงคนดังกล่าวเป็นเป็นมะเร็งปอด และทฤษฎีที่ว่า ผู้ป่วยอายุน้อย ไม่สูบบุหรี่ จะไม่เป็นมะเร็งปอด ก็ใช้ไม่ได้เสมอไปแล้ว โดยที่ในตอนแรก หญิงคนนี้ไปที่โรงพยาบาลด้วยอาการไอมาแล้ว 2 สัปดาห์ น้ำหนักตัวลด 4 กิโลกรม ไม่มีประวัตสูบบุหรี่ และไม่มีโรคประจำตัว คุณหมอจึงเอกซเรย์ปอดและพบความผิดปกติว่ามีน้ำในเยื่อหุ้มปอดเป็นจำนวนมาก คุณหมอจึงทำการเจาะปอดออกมา และผลที่ได้คือน้ำปนเลือด
จากนั้น ก็ส่งคนไข้ไปเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ CT Scan และพบว่าเยื่อหุ้มปอดหนาและปอดข้างขวาแฟบและพบก้อนเนื้อที่ปอด
จากนั้นจึงมีการส่องกล้องในปอดและเนื้อเยื่อจำนวนมากในช่องปอด รวมไปถึงชิ้นเนื้อในปอด และหลังจากที่เก็บชิ้นเนื้อ(ก้อน)ในเยื่อหุ้มปอดมาตรวจ ก็พบว่า คนไข้รายนี้เป็นมะเร็งปอด
ในเคสนี้ คุณหมอบอกว่า แม้คนไข้จะอายุน้อย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้หมายความจะไม่เป็นมะเร็ง ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยที่อายุน้อยเช่น ต่ำกว่า 35 ปี, ต่ำกว่า 40 ปี, หรือต่ำกว่า 50 ปี สามารถพบมะเร็งปอดได้ และจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ไม่มีประวัติสูบบุหรี่ และผู้ป่วยมักมีอาการก่อนได้รับการวินิจฉัยค่อนข้างนาน เพราะผู้ป่วยมักจะไม่เฉลียวใจว่าจะเป็นมะเร็งปอด
อย่างไรก็ตาม กว่าที่จะมาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยอาจจะเป็นมะเร็งในระยะรุนแรงและแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น สมอง กระดูก ตับ