วันที่ 20 เมษายน 2567 ราคาทองคำไทย เพิ่มขึ้น +100 ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 41,600 บาท ราคาขายออก 41,700 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 40,856.20 บาท ราคาขายออก 42,200 บาท ส่งผลทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่เป็นครั้งที่ 27 และครั้งที่ 9 นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และในเดือนเมษายนนี้มาถึงวันที่ 20 เมษายน 2567 ตามลำดับ ที่สำคัญ ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ทองรูปพรรณรับซื้อแตะระดับ 42,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ 19 เมษายน 2567 ยังทำสถิติราคาสูงสุดระหว่างเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ระดับราคา 42,000 และ 42,500 ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณตามลำดับ และนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงวันที่ 20 เมษายน 2567 ราคาทองคำในไทยทะยานขึ้น +8,050 บาท/บาททองคำ หรือทะยานขึ้น +23.57%
สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)
เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 9 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) วันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) วันที่ 17 (แท่ง 41,650 รูปพรรณ 42,150) และวันที่ 20 (แท่ง 41,700 รูปพรรณ 42,200) หน่วย: บาท/บาททองคำ