เจอวิกฤตแรงงานหนัก ร้านสะดวกซื้อ ไม่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงแล้ว

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม สำนักข่าวต่างประเทศ เกียวโด นิวส์ รายงานว่า ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเกือบ 12% ที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ จะไม่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงอีกต่อไป ด้วยเหตุผลเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และ ความต้องการซื้อที่ลดลงในช่วงดึก จากการสำรวจของเกียวโด นิวส์ การสำรวจนี้ จัดขึ้นในเดือนเมษายน และตอบกลับโดยผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 7 ราย ยกเว้นบริษัท Yamazaki Baking Co.

โดยพบว่า ร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,00 แห่ง ในประเทศ เปิดทำงานในเวลาที่สั้นลง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ร้านค้าบางแห่ง ได้เร่งเปิดตัวเครื่องบันทึกเงินสดแบบไร้พนักงาน เพื่อรับมือการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงมากขึ้น เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน คอร์ป ผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ ได้ลดเวลาทำการของร้านค้าเพิ่มเติม 200 แห่ง นับแต่ปี 2020 ตามคำขอของเจ้าของแฟรนไชส์

ขณะที่บริษัท ลอว์สัน ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันกับร้านค้าอีกประมาณ 100 แห่ง ในบรรดาร้านสะดวกซื้อชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ เซเว่น-อิเลฟเว่น , ลอว์สัน และ แฟมิลี่ มาร์ท มีสัดส่วนของร้านค้าที่ทำการสั้นลงค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ประมาณ 8-10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายเล็กอื่นๆ

Seicomart ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น มีอัตราการลดเวลาทำงานของร้านค้าสูงสุดที่ร้อยละ 87 ตามมาด้วย Poplar Co. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ที่ร้อยละ 79 “เรากำลังใช้มาตรการ โดยคำนึงถึงยอดขายและความยั่งยืน Ministop Co. เปิดเผย ซึ่งได้เปิดให้ร้านค้า 22% เปิดทำการสั้นลง

นับตั้งแต่ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกของประเทศใน โกโต ของโตเกียว ในเดือนพฤษภาคม 2517 ร้านค้าดังกล่าวเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และแพร่หลายไปมากขึ้น โดยลูกค้าไม่เพียงแวะมาซื้อของ แต่ยังมาใช้บริการทางการเงิน จัดส่งพัสดุ และ อื่นๆ อีกมาก อย่างไรก็ตาม

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้ ตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัว และความกังวลเกี่ยวกับการทำงานที่มากเกินไป ได้ปรากฏขึ้นท่ามกลางวิกฤตแรงงาน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยข้อพิพาทปี 2019 ระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ ในโอซาก้า และ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เกี่ยวกับการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยเน้นย้ำเรื่องความกังวลนี้