ในยุคนี้เรียกว่าทุกคนมีความระมัดระวังตัวกันมากขึ้น เห็นอะไรแปลกตาที่ไม่คุ้นเคย ก็มักที่จะนำมาให้ชาวโซเชียลช่วยกันหาคำตอบ ยิ่งเฉพาะในยุคที่ธนบัตรปลอม หรือ แบงค์ปลอมระบาดแบบนี้
เรื่องราวในครั้งนี้ถูกแชร์โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กบัญชี Mamee Dii Daa
โดยเธอโพสต์ลงในกลุ่ม กลุ่มที่ไม่ว่าพิมพ์อะไรเราก็ให้กำลังใจในทุกเรื่องแบบงงๆอิหยังวะ โดยเป็นรูป ธนบัตรใบละ 1,000 บาท ในรูปแบบที่ค่อนข้างแปลกตา
โดยเธอได้บรรยายเพิ่มเติมว่า “เมื่อกี้ ลูกค้าซื้อของ 200 เราทอนไป 800 อันนี้คือ แบงค์ 1000 รุ่นไหนคะ จริงใช่เปล่า” โดยธนบัตรดังกล่าวเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สีเทาออกขาวๆ สภาพดีมาก
หลังจากที่เธอได้แชร์โพสต์ดังกล่าวออกไป ก็เรียกว่ามีผู้ที่เข้ามาให้ความรู้มากมาย ซึ่งได้ความว่า แบงค์ดังกล่าว คือ ธนบัตรมูลค่า 1000 บาท รุ่นแรก รุ่นแรกในรัชกาลที่ 9 แบบ14
จุดเด่นของธนบัตร 1000 บาท แบบ 14
- ด้านหน้า : พระฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
- ด้านหลัง : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรที่สร้างฝายและอ่างเก็บน้ำ ณ บ้านบากง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
- ขนาด : 8.00 x 16.60 เซนติเมตร
- เริ่มออกใช้ : 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
- วันจ่ายแลก : 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ซึ่งราคาสำหรับผู้ที่สะสมนั้นมีราคารับซื้อเริ่มตั้งแต่ 1,500 บาท ไปจนถึง 20,000 บาท แล้วแต่ตัวเลขที่ตีพิมพ์ลงบนธนบัตรและสภาพความสมบูรณ์ของธนบัตรนั่นเอง