10 สัญญาณเช็กอาการไขมันพอกตับ พร้อมเคล็ดลับป้องกันไขมันเกาะตับ

>h5

ภาวะไขมันพอกตับ ที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ลองมาเช็กอาการที่พอจะสังเกตได้ว่าเรามีไขมันเกาะตับ พร้อมวิธีป้องกันไขมันพอกตับด้วยตัวเอง
ไขมันพอกตับ

/h5>

>h5

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญและมีบทบาทสูงมากในการรักษาชีวิตให้เป็นปกติ กล่าวคือตับจะคอยทำหน้าที่คัดกรองสารต่าง ๆ ในร่างกาย และปรับสภาพให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละอวัยวะ รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานสำรองของร่างกายด้วย ซึ่งหากอวัยวะเช่นตับมีความผิดปกติไป ก็แน่นอนค่ะว่าคงส่งผลร้ายต่อร่างกายเราแน่ ๆ

/h5>

>h5

อย่างภาวะไขมันพอกตับนี่ก็เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันพบได้บ่อยในเกือบจะทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในคนอ้วน เป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ซี หรือจากภูมิแพ้ กลุ่มคนที่ได้รับยาบางอย่าง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการอักเสบ หรือยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น รวมไปถึงในกลุ่มคนที่ขาดสารอาหารก็มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับ เนื่องจากตับถูกยับยั้งการทำงานเพราะยาที่กินบ้าง หรือในกลุ่มคนที่ขาดอาหารหรือดื่มสุรา ไขมันจากเนื้อเยื่อก็จะถ่ายโอนมาเก็บไว้ที่ตับเพื่อใช้เป็นพลังงาน ซึ่งหากตับแปรรูปไขมันที่ถูกส่งมาไม่ทัน ก็จะเกิดการสะสมไขมันขึ้นมาในตับ กลายเป็นภาวะไขมันพอกตับในที่สุด

/h5>

>h5

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ชักเสียวสันหลังอยู่หน่อย ๆ ว่าเราอาจจะตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีไขมันพอกตับ งั้นมาเช็กกันค่ะว่า ไขมันเกาะตับ อาการเป็นอย่างไรบ้าง

/h5>

>h5

ไขมันพอกตับ อาการเป็นอย่างไร

/h5>

>h5

ภาวะไขมันเกาะตับร้ายมาก ๆ ค่ะ ที่ต้องบอกว่าร้ายเพราะอาการของภาวะนี้ไม่ค่อยแสดงออกอย่างชัดเจน มีการดำเนินโรคยาวนานเป็นสิบปี จะตรวจพบว่ามีไขมันพอกตับก็ต่อเมื่อไปตรวจสุขภาพ เจาะเลือดแล้วพบค่าเอนไซม์ตับผิดปกติไป ทว่าถึงกระนั้นผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับอาจมีอาการไม่จำเพาะดังต่อไปนี้ให้พอเอะใจได้อยู่บ้าง

/h5>

>h5

1. อ่อนเพลียง่าย

/h5>

>h5

2. เบื่ออาหาร

/h5>

>h5

3. ปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา

/h5>

>h5

4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ

/h5>

>h5

5. ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ

/h5>

>h5

6. คลื่นไส้ อาเจียน

/h5>

>h5

7. น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว

/h5>

>h5

8. สีผิวบริเวณท้ายทอย รักแร้ และข้อพับดำคล้ำ หรือมีสีผิวไม่สม่ำเสมอ

/h5>

>h5

9. ตัวเหลือง ตาเหลือง คล้ายอาการดีซ่าน

/h5>

>h5

10. ในรายที่มีไขมันพอกตับเนื่องจากฤทธิ์ของสุรา อาจสังเกตตัวเองได้ว่าหลังจากดื่มสุราไปสักพัก จะเกิดอาการไม่สบายกาย เช่น ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาหนักมาก คลื่นไส้ อาเจียน อึดอัด แน่นท้อง ซึ่งหากเกิดอาการแบบนี้ทุกครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์ ก็พอจะเดาได้ว่าอาจเสี่ยงภาวะไขมันพอกตับเกือบจะ 100%

/h5>

>h5

อย่างไรก็ดี เราสามารถป้องกันภาวะไขมันพอกตับได้ด้วยตัวเราเองนะคะ โดยวิธีดังต่อไปนี้เลย

/h5>

>h5

วิธีป้องกันไขมันพอกตับ

/h5>

>h5

1. รับประทานอาหารทุกมื้อ ไม่อดมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเน้นหลัก หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น คือกินมื้อเย็นให้น้อยกว่ามื้ออื่น ๆ

/h5>

>h5

2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนจนเกินไป

/h5>

>h5

3. หากอ้วนควรลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี โดยลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อเดือน

/h5>

>h5

4. พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้บรรจุกล่อง

/h5>

>h5

5. ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

/h5>

>h5

6. ลดพฤติกรรมกินจุบกินจิบ โดยเฉพาะพวกขนมขบเคี้ยว

/h5>

>h5

7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเค็มจัด มันจัด เปรี้ยวจัด หรือหวานจัด แต่ควรกินอาหารรสชาติกลาง ๆ

/h5>

>h5

8. กินผัก-ผลไม้ให้มากขึ้น

/h5>

>h5

9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวัละ 30 นาที

/h5>

>h5

10. พยายามไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ด้วย

/h5>

>h5

11. หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอาหารเสริม

/h5>

>h5

12. สำหรับคนอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง ควรรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด กล่าวคือ ระดับน้ำตาลในเลือดควรน้อยกว่า 120 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ควรน้อยกว่า 160 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

/h5>

>h5

13. ตรวจเลือดเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี

/h5>

>h5

14. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยต้องหลับให้ได้ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน

/h5>

>h5

อย่างที่บอกว่าภาวะไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบ มักไม่แสดงอาการกระโตกกระตากให้เราได้ทราบล่วงหน้าก่อน ดังนั้นการป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดคือพยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี หากอ้วนก็ลดน้ำหนักให้สำเร็จ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีด้วยก็ดีค่ะ

/h5>

>h5

ที่มา หมอชาวบ้าน, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลลำปาง, webmd, healthline, mayoclinic

/h5>