>h5
เพราะรอบตัวเรามีเชื้อโรคหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันในทุก ๆ ที่ สิ่งเดียวที่เราจะสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกเชื้อโรคต่าง ๆ เข้ามาเพิ่มความเสี่ยงโรคภัยในร่างกายเราได้ ก็คือการล้างมือให้สะอาด เพราะเชื้อโรคที่มาจากการสัมผัสผ่านมือนี่แหละค่ะที่เข้าสู่ร่างกายเราได้ง่ายที่สุด แต่ครั้นจะให้เข้าห้องน้ำไปล้างมือบ่อย ๆ ก็คงไม่สะดวกนัก ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความสะอาดมือก็คือการใช้เจลล้างมือชนิดที่ไม่ต้องล้างออก หรือที่เราเรียกกันว่าแอลกอฮอล์ล้างมือนั่นเอง
/h5>
>h5
โดยเจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีประสิทธิภาพควรมีสารละลายแอลกอฮอล์เอทานอล (Ethanol หรือ Ethyl alcohol) ที่ความเข้มข้น 70% เพราะเป็นสัดส่วนแอลกอฮอล์ที่ไม่ระเหยเร็วจนเกินไป และมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ทำลายเซลล์เชื้อโรคได้ นอกจากนี้ก็ควรสังเกตเลขที่รับแจ้ง ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต เดือน ปี ที่ผลิต ที่สำคัญฉลากผลิตภัณฑ์ควรเป็นภาษาไทยด้วยนะคะ
/h5>
>h5
คราวนี้มาดูกันบ้างว่า เจลล้างมือแบบพกพา หรือแอลกฮอล์ล้างมือยี่ห้อไหนน่าใช้บ้าง
/h5>
>h5
1. เจลล้างมืออนามัย เดทตอล
/h5>
>h5
ภาพจาก dettolthailand
/h5>
>h5
ขนาด : 50 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 59 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : Drug store, ห้างสรรพสินค้า, เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์
/h5>
>h5
เดทตอลยืนพื้นเรื่องน้ำยาฆ่าเชื้อโรคมายาวนาน และตัวเจลล้างมือขวดนี้ก็เคลมว่าสามารถลดการสะสมของแบคทีเรียได้ถึง 99.99% แถมยังมีส่วนผสมของอโลเวรา ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้มือสะอาดนุ่ม ไม่แห้งตึง ขวดก็เล็ก พกพาสะดวก แต่กลิ่นก็จะค่อนข้างแรงหน่อยนะคะ
/h5>
>h5
2. เจลล้างมือ คิเรอิ คิเรอิ
/h5>
>h5
ภาพจาก lion.co.th
/h5>
>h5
ขนาด : 50 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 40 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : Drug store, ร้านขายยาบางแห่ง, 7-11, ห้างสรรพสินค้า, เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์
/h5>
>h5
เป็นเจลล้างมืออีกตัวที่หาซื้อได้ง่าย ตามห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อก็มีวางจำหน่าย และความโดดเด่นของหลอดนี้ก็คือกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งถ้าใครชอบกลิ่นสบู่อยู่แล้วก็น่าจะถูกใจกับกลิ่นเจลล้างมือหลอดนี้เหมือนกัน เนื้อเจลก็ใส ๆ ไม่หนืดมาก ไม่เหลวมาก ถู ๆ ไปก็ซึมไปกับผิวได้ไว ตัวหลอดก็มีลักษณะแบน ๆ พกติดกระเป๋าได้สะดวก
/h5>
>h5
3. เจลล้างมือมายเซพติค มายบาซิน
/h5>
>h5
ภาพจาก greaterpharma
/h5>
>h5
ขนาด : 60 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 55 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : Drug store, ร้านขายยาบางแห่ง, เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์
/h5>
>h5
ชื่อค่อนข้างคุ้นหูมานานเพราะเป็นแบรนด์เดียวกับยาอมแก้เจ็บคอ แต่พอมาทำเจลล้างมือก็ดูน่าใช้ เนื้อเจลใส ๆ ออกจะเหลวนิดหน่อย กลิ่นแอลกอฮอล์ค่อนข้างแรง และแอบแห้งช้าไปนิด อาจไม่เหมาะกับการพกใส่กระเป๋าขนาดเล็ก เพราะส่วนปลายหลอดค่อนข้างแหลม อาจทิ่มตัวกระเป๋าเอาได้เหมือนกัน
/h5>
>h5
4. เจลล้างมือเบตาดีน
/h5>
>h5
ภาพจาก JD CENTRAL
/h5>
>h5
ขนาด : 50 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 50 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกต, ห้างสรรพสินค้า, Drug store, ร้านขายยาบางแห่ง
/h5>
>h5
ตัวขวดน่ารักมากกกกก มีความเล็ก กะทัดรัด ลักษณะขวดก็แบน ๆ เหมาะแก่การพกไปไหนมาไหน ส่วนเนื้อเจลก็ใส ๆ ไม่เหลวมากจนเกินไป ทาแล้วมีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง กลิ่นที่เด่นคือกลิ่นน้ำผึ้งที่เขาผสมมา ตัวเจลล้างมือขวดนี้เลยจะมีความชุ่มชื้นค่อนข้างมาก เลยอาจจะแห้งช้านิดนึง แต่ขวดนี้ก็เคลมว่าช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียได้มากถึง 99.999% เชียวนะ
/h5>
>h5
5. เจลล้างมือ ศิริบัญชา
/h5>
>h5
ภาพจาก siribuncha
/h5>
>h5
ขนาด : 40 มิลลิกรัม
/h5>
>h5
ราคา : 30 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : ร้านขายยา, Drug store, 7-11
/h5>
>h5
นอกจากแอลกอฮอล์ในรูปแบบน้ำแล้ว แบรนด์นี้ยังผลิตเจลล้างมือด้วยนะคะ และก็เป็นแบรนด์ที่หาซื้อค่อนข้างง่าย ตามร้านขายยามักจะมีจำหน่าย ส่วนตัวเจลก็ไม่เหนียวเหนอะหนะ แห้งเร็ว มีกลิ่นของแอลกอฮอล์แบบเต็ม ๆ ทาแล้วได้ฟีลสะอาด ๆ
/h5>
>h5
6. เจลล้างมือ SKN
/h5>
>h5
ภาพจาก naeyavee
/h5>
>h5
ขนาด : 50 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 35 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : ร้านขายยาบางแห่ง
/h5>
>h5
เจลล้างมือยี่ห้อนี้อาจหาซื้อได้ยากนิดนึง โดยจะวางจำหน่ายตามร้านขายยาเป็นส่วนใหญ่ ทรงก็จะคล้าย ๆ แบรนด์อื่นอยู่บ้าง แต่ตัวนี้จะค่อนข้างฉุนแอลกอฮอล์เด่นชัด เนื้อสัมผัสเหลว ๆ แห้งค่อนข้างช้าอยู่ค่ะ
/h5>
>h5
7. เจลล้างมือ Xta
/h5>
>h5
ภาพจาก exta.co.th
/h5>
>h5
ขนาด : 50 มิลลิลิตร
/h5>
>h5
ราคา : 29 บาท
/h5>
>h5
พิกัด : 7-11 และร้านขายยา เอ็กซ์ต้า พลัส+
/h5>
>h5
เจลล้างมือตัวนี้หาซื้อได้ตาม 7-11 เลยค่ะ เนื้อเจลก็มีกลิ่นแอลกอฮอล์พอฉุน ๆ เพราะมีสารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้นประมาณ 68% อยู่ในสัดส่วนที่ฆ่าเชื้อโรคได้ ส่วนความเข้มข้นของเนื้อเจลก็กลาง ๆ แต่แอบแห้งช้าไปนิดนึง
/h5>
>h5
อย่างไรก็ตามการใช้เจลล้างมือก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน โดยไม่ควรใช้เจลล้างมือกับเด็กทารก และบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา และบริเวณที่มีการอักเสบ เช่น เป็นสิว มีบาดแผล เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ อีกอย่างเจลล้างมือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ค่อนข้างมาก ซึ่งแปลว่าสามารถติดไฟได้ ดังนั้นหากทามือแล้วมือยังไม่แห้ง ควรหลีกเลี่ยงจากเปลวไฟทุกชนิดไว้ด้วย โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่
/h5>
>h5
ที่มา https://health.kapook.com/view220039.html
/h5>