อย่าตัดสินปลาว่าไม่เก่ง แค่ว่ามันปีนต้นไม้ไม่ได้ ลูกเรียนไม่เก่ง ไม่ได้แปลว่าโง่

ลูกเรียนไม่เก่ง ไม่ได้แปลว่าโง่ “อย่าตัดสินปลาว่าไม่เก่ง แค่ว่ามันปีนต้นไม้ไม่ได้”


ปลาว่ายน้ำเก่งมาก แต่หากเราตัดสินใจความเก่งของมัน โดยให้ปีนต้นไม้ มันจะแก่ตายไปพร้อมกับความเชื่อที่ว่า “ทั้งชีวิต มันจะคิดว่ามันโง่”

ในชีวิตคนเราก็เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ใช้ทั้งชีวิตที่จะพยายาม ปีนต้นไม้ให้ได้ทั้งๆ ที่เป็นปลา

คือ…พยายามจะทำสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ ตัวเองไม่ถนัน เพียงเพราะกระแสสังคม หรือคนรอบข้าง คอยพูด เปรียบเทียบ กรอกหูทุกวี่ทุกวัน…ว่า…

จะต้องเรียนเก่งให้ได้เหมือนกับคนนั้น.!!!. จะต้องประสบความสำเร็จให้ได้เหมือนกับคนนี้.!!! จะต้องทำงานนั้น!ให้เก่งเหมือนคนโน้น.!!!. (ทั้งๆที่ตัวเองไม่ชอบมันเลย)

อย่างเช่นเรื่องราวชีวิตของ คุณ บอย โกสิยพงษ์ ดังต่อไปนี้..


“แม่ผมเป็นแม่บ้าน แม่บ้านที่รักลูกมาก ตั้งแต่ผมเกิดมาผมไม่เคยกินผลไม้ที่มีเปลือกหรือมีเมล็ดเลย ตอนเด็กๆ ผมไม่รู้ด้วยว่าองุ่นมันมีเปลือก องุ่นมันมีเมล็ด ทุกวันผมจะได้เอาช้อนตักองุ่นที่แกะแล้ว แช่เย็นอย่างดีแล้วกินเป็นชามๆ เลยฮะ หรืออย่างเงาะผมก็ไม่เคยกินแบบมีเมล็ด ทุกอย่างคือผ่านการผ่าตัดจากแม่มาเรียบร้อยแล้ว และไม่ใช่แค่ผลไม้ แต่อาหารแม่จะเป็นห่วงทุกอย่าง

“ครอบครัวผมเนี่ย ทั้งพ่อและพี่น้องทุกคนเป็นคนฉลาดหมด เรียนหนังสือได้คะแนน 80-90 เปอร์เซ็นต์ แล้วพอโตขึ้นก็ได้ทุน น้องชายผมได้ทุนเรียนฟรีที่อเมริกา เรียนจบด้วยเกียรตินิยม

พี่ชายผมเขาก็ได้เกียรตินิยม พี่สาวผมก็ได้เกียรตินิยมที่ต่างประเทศ มีแค่บอยนี่แหละที่เรียนได้ทุเรศมากๆ คือเรียนรั้งท้ายมาตลอดตั้งแต่เด็ก ทั้งห้องมีนักเรียนอยู่ 45 คน ผมจะผลัดกับเพื่อนอีกคนว่าคราวนี้ใครจะเป็น ‘บ๊วย’ ของห้อง ซึ่งถ้าไม่ใช่มันก็คือผมนี่แหละ

“จนกระทั่งวันหนึ่ง ตอนนั้นผมอยู่ ม.3 อธิการมาบอกว่า บอย ทางโรงเรียนจะต้องเชิญให้บอยออกจากโรงเรียน เพราะว่าคะแนนเฉลี่ยของผมมันอยู่ที่ 1.04 ฉะนั้นบอยเรียนต่อ ม.4 ไม่ได้ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าผมไม่มีความสามารถทางการเรียน

“ความจริงผมไม่ใช่คนเกเรเลยนะฮะ ผมตั้งใจท่องหนังสือ ผมฉีกหนังสือเป็นเล่มๆ ออกมาทีละบทเพื่อจะมานั่งอ่านทีละหน้า แต่มันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องถึงขนาดที่ว่ากำลังจะเข้าห้องสอบ ผมต้องเอาตามามองมัน เผื่อบทเรียนในหนังสือมันจะจำเข้าไปในตาผม (หัวเราะ) ผมโคตรพยายาม แต่มันก็ทำไม่ได้ งั้นโอเค ออกก็ออก

ที่มา https://www.share-si.com/2020/01/blog-post_72.html