หมอสอน “วิธีทำหน้ากาก” ที่ป้องกันเชื้อโรค โดยใช้กระดาษทิชชู่เปียกแทนแผ่นกรอง

หลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ไม่มีอะไรดังไปกว่า “หน้ากากอนามัย” แล้ว เพราะมันมีค่ามากสำหรับมนุษย์ทั่วโลกในตอนนี้ ผู้คนต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับมันก็เพราะ มันสามารถป้องกันโรคได้นั้นเอง


สื่อต่างประเทศเปิดเผยวิธีการทำหน้ากากอนามัยด้วยการ DIY ด้วยมือ ประหยัดแถมไม่ต้องกลัวติดโรค เมื่อคุณหมอชาวไต้หวัน เฉินกว้านถิงได้แบ่งปันผ่านเฟซบุ๊กของตนเองเกี่ยวกับการทำหน้ากากอนามัย ด้วยผ้าและแผ่นกรองด้วยเวลาไม่ถึง 30 นาที ที่สำคัญสามารถใช้ซ้ำได้ ประหยัดเงินปกป้องสิ่งแวดล้อมและทนทาน!


วัสดุที่ต้องเตรียม

1.เลือกสีผ้าที่ชอบ ตัดให้มีขนาด (30cm x 105cm) แนะนำให้ทำ 3 ผืน


2.หากคุณเย็บเองเป็นก็เยี่ยมไปเลย แต่ถ้าไม่เป็นก็หาช่างฝีมือดีให้เขาช่วยเย็บให้ โดยการเอาหน้ากากอนามัยแผ่นมาตรฐานให้เขาดูเป็นตัวอย่าง


3.ซึ่งที่โรงพยาบาลก็ใช้แก้ขัด เมื่อหน้ากากไม่เพียงพอ ด้านหลังต้องมีช่องสำหรับเปลี่ยนแผ่นกรองอันใหม่ จะใช้ทิชชู่เปียกที่ตากแห้งแล้ว หรือกระดาษทิชชู่ทั่วไปก็ได้



นอนวูฟเวน (nonwovens) หรือ ผ้าไม่ถักไม่ทอ ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยกันนัก แต่หากเราพูดถึงหน้ากากอนามัยที่กำลังฮิตติดตลาดอยู่ในช่วงนี้เราทุกคนก็คงคุ้นเคยเป็นอย่างดี หน้ากากอนามัยเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนอนวูฟเวนนั่นเอง


นอนวูฟเวน คือ ผ้าที่เกิดจากการขึ้นรูปจากเส้นใยโดยตรง ซึ่งแตกต่างจากผ้าทอ หรือผ้าถักโดยทั่วไปที่มีการขึ้นรูปเส้นใยให้เป็นเส้นด้ายก่อนแล้วจึงนำไปขึ้นรูปเป็นผ้า ดังนั้นถ้าเรานำ เอาแผ่นนอนวูฟเวนมาส่องกล้องขยายดูโครงสร้างกัน ชัดๆ ก็จะเห็นเป็นเส้นใยพาดสานกันไปมาในทุกทิศทาง


หากไม่มีสามารถใช้สิ่งเหล่านี้แทนได้

เศษผ้า

ผ้าอ้อมเด็ก

ผ้ากอซ

ทิชชู่เปียก

ผ้าอนามัย

ย้ำว่า ต้องเป็นของใหม่ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน


(คำถาม-คำตอบ)

Q.หน้ากากผ้าปลอดเชื้อและปราศจากเชื้อไหม?

A. อากาศที่คุณหายใจได้รับการฆ่าเชื้อโรคหรือไม่? ตราบใดที่มีการทำความสะอาดหน้ากากผ้าด้วยการซักทุกวัน หรือหากน้ำลายมาก ผ้าเปียกก็ควรเปลี่ยน!

Q.หน้ากากผ้าแบบนี้มีประสิทธิผลในการกรองหรือไม่?

A. หน้ากากผ่าตัด (หน้ากากทางการแพทย์)ทั่วไป อาจมีความหนาแน่นที่ไม่ 100% เหมือนกัน อากาศสามารรถไหลผ่านเข้า-ออกได้ และไม่ดีเท่าหน้ากาก N95 แม้หน้ากาก N95 จะมีความหนาแน่นที่ดีเยี่ยม แต่จะสวมใส่ได้ในช่วงเวลาสำคัญเท่านั้น โดยทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่ำไม่จำเป็นต้องสวม เพราะหากคุณใส่จะทำให้หายใจไม่สะดวกและใส่ได้ไม่นาน ยิ่งไปกว่านั้นคนที่เป็นโรคหัวใจก็ควรระวังเป็นพิเศษ


เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้เองมีชายชราคนหนึ่ง สวมหน้ากากทางการแพทย์ แล้วรู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก คนที่บ้านจึงรีบโทรเรียกรถฉุกเฉิน ยังไงก็ตามฝากถึงประชาชนอย่ากักตุนหน้ากาก ควรจะเหลือเก็บไว้ให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้ใช้งานจะบ้าง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาประชาชนทั้งประเทศ


ที่มา www.baterk.com/post10100411016829