ผักเสี้ยน สมุนไพรหลากสรรพคุณ ที่ไม่ได้เป็นแค่ “วัชพืช” ข้างถนน แพทย์แผนไทยยังแนะนำ

วัชพืชที่ขึ้นตามพื้นที่ทั่วไป แต่ใครจะรู้ว่า มันยังมีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล วันนี้เราจะพาทุกท่านมาเปืดสรรพคุณของ “ผักเสี้ยน” เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาที่ไม่ยาวมากรอบต้น ตามลำต้นมีขนอ่อนๆ ปกคลุม จับดูจะเหนียวมือ

“ผักเสี้ยน” ภาคเหนือเรียก “ผักส้มเสี้ยน” เป็นวัชพืชขึ้นตามธรรมชาติบริเวณริมทางที่รกร้าง ชอบดินชื้น ไม่นิยมกินสดเพราะมีสารไฮโดรไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษ ต่อประสาทส่วนกลาง ต้องนำไปดองเสียก่อนสารพิษนี้จึงละลายไป

ผักเสี้ยนสดมีรสขม ดังนั้น ในการทำเป็นอาหารจึงเหมาะสำหรับนำมาดองเปรี้ยว ซึ่งให้รสชาติดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการนำไปปรุงด้วยวิธีอื่น

ผักเสี้ยนดอง นับเป็นผักดองที่นิยมกินกันทุกภาคและมีขายตลอดทั้งปี ผักเสี้ยนสามารถนำไปต้มหรือลวกให้สุกเพื่อให้หายขมและหมดกลิ่นเหม็นแล้วนำไปเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็ได้ แต่ไม่นิยมกัน ผักเสี้ยนดองมีรสเปรี้ยวร้อน คนใต้จะกินเป็นผักร่วมกับขนมจีนน้ำยา จิ้มน้ำพริกต่างๆ หรือนำไปทำแกงส้มใส่กุ้งหรือปลา และยังทำเมนูผักเสี้ยนดองผัดไข่ ผักเสี้ยนดองต้มกับปลา เป็นต้น

ตามตำราการแพทย์แผนไทยแบ่ง ผักเสี้ยน ออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ผักเสี้ยนไทยดอกขาว ซึ่งใช้ในการดองเพื่อการเป็นการปรุงอาหาร สามารถบำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดบรรเทาอาการปวดเมื่อย ระบายท้อง และทำให้ผิวพรรณสดใส

2. ผักเสี้ยนผี จะมีดอกสีเหลือง นิยมนำมาทำยาสมุนไพร ช่วยบำบัดโรคเกี่ยวกับน้ำเหลืองเสียได้

ผักเสี้ยนผี สรรพคุณเภสัชว่าไว้ดั่งนี้
ต้น – กระจายบุพโพอันผูกเป็นก้อนให้ตก ทั้งต้นมีรสร้อน ช่วยแก้ลม ช่วยแก้ลมบ้าหมู ช่วยแก้อาการหูอักเสบช่วยแก้ไข้ตรีโทษ

ใบ – แก้ทุราวสา ๑๒ ประการ ถ้ามีอาการปวดศีรษะให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก ช่วยแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หู อาการปวดเวลาปัสสาวะช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ บดเกลือทาแก้อาการปวดหลัง

ดอก – ทำลายเสียซึ่งกิมิชาติชาวยฆ่าพยาธิผิวหนังและพยาธิต่างๆ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค

เมล็ด – ฆ่าพยาธิช่วยขับเสมหะได้แก้เลือด ออกตามไรฟัน

ราก – แก้วัณโรค

มาปลูกผักเสี้ยนไว้ที่บ้านกัน ปลูกง่ายตายยาก ถ้าไม่มีที่ปลูกใส่กระถางปลูกก็งามดี แถมเป็นเครื่องตกแต่งบ้านก็ได้อีก พองามตัดเอามาดองที่เหลือจะแตกกองอกงามต่อ ซึ่งก็ทำได้ไม่ยุ่งยากแต่มีคุณอนันต์เป็นทั้งของแถมที่อร่อย เอาไปปรุงเป็นอาหารก็เยี่ยมที่รสชาติเจ็บไข้ก็เอามาต้มมาคั้น ทำเป็นย าช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้อีก

ที่มา ให้ความรู้, กระทรวงสาธารณสุข, อาจารย์คมสัน ทินกร ณ อยุธยา