เรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่น่านน้ำบริเวณนอกชายฝั่งเกาะออฟีอุสส่วนหนึ่งในกลุ่มปาล์ม รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก ได้ค้บพบสิ่งที่มหัศจรรย์เข้า นั่นคือ ปะการังขนาดยักษ์
พวกเขาได้พบกับปะการะงโขด (Porites) สูง 5.3 เมตร กว้าง 10.5 เมตร ทำให้มันกลายเป็นปะการังที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 หลังจากที่มนุษย์เคยพบมา ซึ่งตอนนี้มันได้รับชื่อจากนักวิทยาศาสตร์ว่า “Muga dhambi” แปลว่า ‘ปะการังยักษ์’
จากการสำรวจพบว่ามันอาจจะมีอายุมากถึง 421-438 ปีมาแล้ว! เรียกว่าอยู่มานานกว่าชาวยุโรปที่เข้ามายังออสเตรเลียซะอีก คาดว่าตลอดชีวิต 400 กว่าปีของมันจะต้องพบการฟอกขาวมาร่วม 100 ครั้ง และต้องพบภัยรุกรานต่าง ๆ จากทั้งสัตว์น้ำ กระแสน้ำและพายุอีกราว ๆ 80 ครั้ง
ถึงอย่างนั้นมันก็ยังอยู่ในสภาพที่ปกติดีด้วยปะการังที่มีชีวิตมากกว่า 70% ในขณะที่ส่วนที่เหลือที่อถูกคลุมโดยฟองน้ำ หินปะการัง สาหร่ายมาโคร แต่ก็ไม่พบร่องรอยของการเกิดโรคเลย
ทีมวิจัยที่พบมันระบุว่า ปะการังขนาดใหญ่ที่เกาะออฟีอุสเป็อะไรที่หายากและทนมาก ๆ มันรอดพ้นจากการฟอกขาว สัตว์ต่างถิ่น พายุไซโคน เหตุการณ์น้ำลดรุนแรงและกิจกรรมของมนุษย์มาเกือบ 500 ปี
ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงอยากขอความร่วมมือช่วยกันรักษาปะการังยักษ์ที่ถูกค้นพบครั้งนี้ให้ดี เพราะปัจจุบันปะการังทั้งหมดบนโลกตกอยู่ในความเสียงที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิง จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความเป็นกรดในมหาสมุทร
ที่มา : livescience, iflscience